ไทย - พม่า เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่าง ชาวไทย กับ ชาวพม่า

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทูตUNยันเลือกตั้งพม่าเชื่อไม่ได้

ข่าวจากไทยโพสต์

ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าของยูเอ็นระบุ การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าในปีนี้ย่อมขาดความน่าเชื่อถือหลังรัฐบาลทหารไม่แสดงท่าทีจะปล่อยนักโทษการเมือง ฝ่ายทูตหม่องโต้พม่าไม่มีนักโทษการเมืองสักหน่อย ขณะรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์จวกรัฐบาลทหารห้าม "ซูจี" มีส่วนร่วมเลือกตั้ง ผิดคำสัญญาปฏิรูปประชาธิปไตย ลั่นนำเข้าที่ประชุมอาเซียนต้นเดือนหน้าไล่เบี้ยพม่าล้มเลิกกฎหมายเลือกตั้ง

โทมัส โอเจีย ควินตานา ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งมีหน้าที่จัดทำรายงานด้านสิทธิมนุษยชนภายในพม่าเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน เปิดแถลงที่นครเจนีวาภายหลังเสนอรายงานต่อคณะมนตรีเมื่อวันจันทร์ว่า การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าที่กำหนดจะมีขึ้นภายในปีนี้จะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของพม่า ทว่ารัฐบาลทหารพม่ากลับไม่ฉกฉวยโอกาสนี้แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและพัฒนาสู่ระบอบประชาธิปไตย

เขาชี้ว่าไม่มีสิ่งบ่งชี้ใดๆ เลยว่ารัฐบาลทหารมีแผนจะปล่อยนักโทษการเมืองก่อนถึงการเลือกตั้ง หลังจากที่กฎหมายเลือกตั้งเลือกตั้งฉบับใหม่ที่เพิ่งประกาศเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ก่อนบัญญัติห้ามนักโทษการเมืองที่มีมากกว่า 2,100 คน รวมถึงนางอองซาน ซูจี มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ หรือแม้แต่เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง "ภายใต้สภาพการณ์ปัจจุบัน การเลือกตั้งในพม่าไม่อาจมองได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ" เขากล่าว

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของซูจีชนะการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเมื่อปี 2533 แต่คณะทหารปฏิเสธจะยอมรับ เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วรัฐบาลเพิ่งจะประกาศให้ผลการเลือกตั้งปีนั้นเป็นโมฆะอย่างเป็นทางการ เอ็นแอลดีกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งภายนอกมองว่าเป็นปาหี่สร้างภาพประชาธิปไตยทั้งที่คณะทหารยังกุมอำนาจอยู่หรือไม่

ควินตานาเดินทางเยือนพม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า เขากล่าวว่านอกจากรัฐบาลทหารต้องรีบทำให้การเลือกตั้งปีนี้มีความยุติธรรมแล้ว รัฐบาลพม่ายังต้องตอบคำถามถึงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลายเป็นระบบตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาด้วย

ฝ่ายอู วุนนา หม่อง ลวิน ทูตพม่าประจำยูเอ็นโต้รายงานของควินตานาว่า เป็นความพยายามทางการเมืองเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้ง "รัฐบาลของผมกล่าวชัดเจนว่าเราไม่มีนักโทษการเมือง และพวกที่ถูกจำคุกก็คือผู้ที่ทำผิดกฎหมายและกฎระเบียบ" เขายืนกราน ทั้งยังประณามรายงานของควินตานาที่เสนอให้ยูเอ็นตั้งคณะทำงาน เพื่อไต่สวนการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติด้วยว่าเป็นการละเมิดสิทธิของรัฐอธิปไตย

อีกด้านหนึ่ง อัลเบอร์โต โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปิน

น์ แถลงกับผู้สื่อข่าวก่อนหน้าฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (นาม) วันที่ 16-18 มี.ค.นี้ ว่าเขากำลังรอคอยการพบหารือนอกรอบกับยาน วิน

รัฐมนตรีต่างประเทศของพม่า ที่มีกำหนดมาร่วมประชุมกับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 120 ชาติที่กรุงมะนิลา เพื่อถ่ายทอดความวิตกกังวล

โรมูโลเผยว่า ในการประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่กรุงฮานอยของเวียดนามวันที่ 8 เม.ย.นี้ เขาจะปลุกเร้าบรรดาเพื่อนรัฐมนตรีอาเซียน ร่วมกันกดดันพม่ายอมล้มเลิกกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งที่เพิ่งประกาศใช้ และขอให้พม่าปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาเก่าที่ว่าจะดำเนินการตาม "โรดแม็พสู่ประชาธิปไตย" โดยทันที

"มันตรงกันข้ามกับโรดแม็พสู่ประชาธิปไตยที่พวกเขาได้ให้ปฏิญาณไว้กับอาเซียนและกับโลก

มันเป็นคำมั่นสัญญาของพวกเขาเองแท้ๆ" รัฐมนตรีฟิลิปปินส์กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

เชียงใหม่, เหนือ
กลุ่มคนเล็ก ๆ เพื่อขจัดอคติต่อชาวพม่า