ไทย - พม่า เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่าง ชาวไทย กับ ชาวพม่า

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยทรายทวงสัญญาให้ "น้องหม่อง" / พ่อโต้ไม่ได้หนังสือตามที่ก.วิทย์กล่าวอ้าง

น้องหม่อง เข้าพึ่งนายกฯ ช่วยไปแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับที่ประเทศญี่ปุ่น (Photo: matichon)


ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยทรายเผย หลังด.ช.หม่อง "น้องมอง" ได้รับรางวัลการแข่งขันเครื่องบินพับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโครงการแต่งตั้งเป็นยุวทูต และให้ทุนการศึกษาจนจบปริญญาเอก ขณะกระทรวงมหาดไทยรับจะพิจารณาเรื่องสัญชาติให้ แต่จนถึงขณะนี้ทางโรงเรียนและครอบครัวของเด็กยังไม่ได้รับการติดต่อ

ด.ช.หม่อง ทองดี หรือ "น้องมอง"แชมป์เครื่องบินกระดาษพับนานาชาติ ประเภททีม และอันดับที่ 3 ประเภทบุคคล จากการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับนานาชาติ ที่ประเทศญี่ปุ่น ยังเรียนหนังสือตามปกติกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียนบ้านห้วยทราย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นายดวงฤทธิ์ เกติมา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยทราย เปิดเผยว่า หลังจาก ด.ช.หม่อง ได้รับรางวัลจากการแข่งขันเมื่อเดือนกันยายน ปีที่แล้ว มีหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโครงการแต่งตั้ง ด.ช.หม่อง เป็นยุวทูตของกระทรวง และให้ทุนการศึกษาเรียนจนจบปริญญาเอก ส่วนกระทรวงมหาดไทย ก็จะพิจารณาเรื่องสัญชาติ และนายกรัฐมนตรีก็รับปากจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้รับการติดต่อแต่อย่างใด

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยทราย กล่าวว่า การเปิดเผยข้อมูลครั้งนี้ ไม่ได้ต้องการเรียกร้องอะไร เพียงแต่ต้องการสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เคยรับปากเด็กไว้ แต่กลับนิ่งเฉย เพราะขณะนี้ ด.ช.หม่องยังรอความหวัง และวันเด็กแห่งชาติปีนี้ ด.ช.หม่อง จะเดินทางไปกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด เพื่อสาธิตการพับเครื่องบินกระดาษ ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กอีกหลายคน

ทั้งนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังครอบครัวของ ด.ช.หม่อง ทองดี ว่า จะสนับสนุนทุนการศึกษาทันที หลังจบมัธยมศึกษาตอนปลาย และเรียนต่อสาขาวิทยาศาสตร์ จนถึงระดับปริญญาเอก รวมถึงการเป็นยุวทูตวิทยาศาสตร์ด้วย

ขณะที่บิดาของ ด.ช.หม่อง ให้สัมภาษณ์ว่า ตั้งแต่ลูกกลับจากประเทศญี่ปุ่น ยังไม่ได้รับหนังสือใดๆ จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะให้ทุนการศึกษาแก่บุตรชาย และให้เป็นยุวทูต แต่ล่าสุด มีหนังสือจากกรุงเทพมหานคร ส่งมาให้ลงนามยินยอมให้ ด.ช.หม่อง เดินทางไปร่วมงานวันเด็กแห่งชาติ ที่กรุงเทพมหานคร



(ซ้าย) "น้องหม่อง" โชว์เหรียญรางวัล หลังกลับจากการไปแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่นถึงสนามบินเชียงใหม่ (Photo: Arntai / SHAN)
(ขวา) น้องหม่อง เข้าพิธีบรรพชาที่วัดป่าแดงมหาวิหาร อ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และแผ่นดินไทย
รวมทั้งถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (Photo: taklong.com)



ข้อมูลข่าว ....ผู้จัดการออนไลน์ 7 มกราคม 2553

สรุปข่าวพม่ารอบสัปดาห์(30 ธ.ค.52 - 8 ม.ค.53) จากประชาไท

Fri, 2010-01-08 22:39

30 ธ.ค.52
บังกลาเทศเตรียมส่งผู้ลี้ภัยมุสลิมโรฮิงยา 9 พันคนกลับพม่า

หลังการหารือระหว่างรัฐบาลบังกลาเทศและพม่าเมื่อปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทางการพม่าตกลงจะรับผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงยาจำนวน 9, 000 คน จาก 28,000 คนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศกลับพม่า ขณะที่มีรายงานว่า ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ไม่ต้องการเดินทางกลับพม่า เนื่องจากหวั่นเจอปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากทหารพม่า

Chris Lewa จากองค์กร The Arakan Project ซึ่งเป็นองค์กรให้การช่วยเหลือและสนับสนุนชาวมุสลิมโรฮิงยาเปิดเผยว่า นโยบายการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศควรได้รับการสมัครใจจากผู้ลี้ภัย และถ้าหากรัฐบาลบังกลาเทศบังคับให้ชาวโรฮิงยากลับพม่า นั่นถือเป็นการละเมิดกฎหมายสากล เนื่องจากสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่ายังเลวร้าย

ขณะที่ตัวเลขผู้ลี้ภัยลักลอบเข้าบังกลาเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยากลับประเทศยังคงเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างรัฐบาลบังกลาเทศและรัฐบาลพม่าที่รอการแก้ไขนับตั้งแต่ปี 2534 – 2535 จนถึงปัจจุบัน (Irrawaddy)


4 ม.ค.53
ชาวบ้านถูกทหารDKBAทำร้ายร่างกาย – อ้างเชื่อมโยงกับกลุ่ม KNU

มีรายงานว่า ทหารจากกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army) หรือดีเคบีเอ พร้อมด้วยทหารพม่าจำนวนหนึ่งเข้าปิดล้อมเมือง Kyar Inn Seik Gy รัฐกะเหรี่ยง พร้อมกับทำร้ายร่างกายชาวบ้านเป็นจำนวนมาก มีรายงานว่าชายคนหนึ่งถูกยิงเข้าที่แขนได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะที่กำลังทำไร่

ขณะที่ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ดังกล่าวถูกจับตัวไปทรมานร่างกาย จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบชะตากรรม โดยทางทหารดีเคบีเออ้างว่า ชาวบ้านในพื้นที่รู้เห็นช่วยเหลือทหารของดีเคบีเอจำนวน 6 นายที่ลักลอบหนีออกจากกองทัพให้ไปเข้าร่วมกับกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือเคเอ็นยูเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน(DVB)


6 ม.ค.53
ราคาทองคำพม่าพุ่งกระฉูด

ราคาทองคำในพม่ายังขยับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ล่าสุดทำยอดขายสูงสุดอยู่ที่บาทละ 602, 100 จั๊ต (20,620) เมื่อวันพุธ (5 ม.ค.53) ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ราคาทองคำยังคงอยู่ที่บาทละ 599,800 จั๊ต(20,541 บาท) ขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เหตุที่ราคาทองขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากที่ทางการพม่าออกมาประกาศจะขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการอีกคนละ 2 หมื่นจั๊ต (690 บาท)

รวมทั้งมาจากสาเหตุที่ว่า สมาชิกครอบครัวของผู้นำพม่าทั้งหลายต่างออกมากว้านซื้อทองกันเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันอัตราเงินเฟ้อ จึงเป็นเหตุให้ราคาทองคำสูงขึ้น

ทั้งนี้ ได้รับการยืนยันจากผู้ค้าทองในจังหวัดมัณฑะเลย์และในกรุงย่างกุ้งว่า มีสมาชิกครอบครัวของผู้นำพม่าและข้าราชการออกมาซื้อทองเป็นจำนวนมากจริง

ด้านผู้ค้าทองในพม่ารายหนึ่งออกมาระบุว่า “ตามปกติแล้ว หากราคาทองสูงขึ้น รัฐบาลพม่ามักกล่าวหาว่าเป็นความผิดของผู้ค้าทอง และรัฐบาลมักแก้ปัญหาโดยการให้ผู้ค้าทองยุติการค้าขายทองชั่วขณะเพื่อให้ราคาทองคงที่ โดยรัฐบาลลืมไปว่าแท้ที่จริงแล้วต้นเหตุที่ทำให้ราคาทองขยับขึ้นก็มาจากการกระทำของรัฐบาลเอง”

ด้านสหภาพผู้ค้าทองในพม่าออกมาระบุ อาจเรียกประชุมในเร็วๆนี้ หากราคาทองยังคงขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Irrawaddy)


7 ม.ค.53
ทหารพม่าสร้างโรงงานผลิตฝิ่นใกล้ชายแดน อินเดีย – พม่า

ชาวบ้านในเมืองทามู ภาคสะกายเปิดเผยว่า ทหารพม่าได้สร้างโรงงานผลิตฝิ่นใกล้กับชายแดนพม่า – อินเดียนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีรายงานว่า ได้มีทหารจำนวนนับ 10 นายเฝ้ารักษาความปลอดภัยรอบๆโรงงานเพื่อป้องกันชาวบ้านเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

มีรายงานอีกว่า นอกจากทหารพม่าแล้ว ยังพบทหารชนกลุ่มน้อยติดอาวุธจากฝั่งอินเดียจำนวน 300 นายเคลื่อนไหวในพื้นที่รอบๆโรงงานฝิ่นดังกล่าวด้วยเช่นกัน ขณะที่เมื่อปีที่แล้วมีรายงานว่า ทหารพม่าได้ทำไร่ฝิ่นในเมือง Tidim และในเมือง Tawnzang โดยบังคับชาวบ้านจำนวนหนึ่งในพื้นที่ย้ายออกจากไร่ฝิ่น (Khonumthung)

8 ม.ค.53
ศาลพม่าสั่งประหาร 2 เจ้าหน้าที่ – ข้อหาแอบส่งข้อมูลลับให้สื่อนอกประเทศ

นายวินหน่ายจ่อ อดีตเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพลโท ทินอู เลขาธิการลำดับที่สองของกองทัพพม่าถูกศาลพิเศษในเรือนจำอินเส่งสั่งประหารชีวิต พร้อมกับนายทุระ จ่อ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานกระทรวงต่างประเทศในข้อหาลักลอบเผยแพร่ข้อมูลลับให้กับสื่อพม่านอกประเทศ นอกจากนี้ยังมีนายเพียนเส่ง อีกหนึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานกระทรวงต่างประเทศที่ถูกศาลสั่งจำคุกเป็นเวลา 15 ปี

ทั้งนี้ อดีตเจ้าหน้าที่ทั้งสามคนถูกจับทันที หลังสื่อพม่านอกประเทศได้เผยแพร่ภาพนายพลฉ่วยหม่านในระหว่างที่เดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศเกาหลีเหนือและรัสเซียเกี่ยวกับด้านอาวุธและอุโมงค์ใต้ดินในเกาหลีเหนือเมื่อปีที่แล้ว และภายหลังการเผยแพร่ภาพอุโมงค์ลับในพม่า(Irrawaddy/DVB)

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

เจ้าหน้าที่พม่านำนักธุรกิจไทย สำรวจเหมืองถ่านหินในรัฐฉาน

เจ้าหน้าที่พม่านำนักธุรกิจไทย สำรวจเหมืองถ่านหินในรัฐฉาน
Fri, 2010-01-08 16:48

สำนักข่าวฉาน

(SHAN 8 ม.ค. 52) – เจ้าหน้าที่บริษัทพม่านำทีมนักธุรกิจไทยสำรวจเหมืองถ่านหินในรัฐฉาน คาดเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทที่ได้รับสัมปทานจากพม่าตามสานโครงการที่ถูกคัด ค้านและหยุดชะงักไป

มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า เมื่อวันที่ 24–25 ธ.ค. 52 ที่ผ่านมา ร.อ.จายอ่องหล่ายวิน เจ้าหน้าที่บริษัท Union of Myanmar Economic Holdings Ltd (UMEHC) ของพม่า นำทีมนักธุรกิจไทย 11 คน เข้าไปสำรวจเหมืองถ่านหินบริเวณเมืองโก๊ก จังหวัดเมืองสาด (รัฐฉานภาคตะวันออก) ตรงข้ามอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเหมืองถ่านหินที่รัฐบาลทหารพม่าตกลงให้สัมปทานแก่บริษัทไทย และเป็นเหมืองถ่านหินที่มีกระแสข่าวรัฐบาลทหารพม่าเตรียมก่อสร้างโรงไฟฟ้าด้วย

โดยนักธุรกิจไทยชุดดังกล่าวคาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทสระบุรีถ่านหิน ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนไทยในเครืออิตัล-ไทย ที่ได้รับสัมปทานขุดถ่านหินลิกไนต์จากรัฐบาลทหารพม่าเป็นเวลา 30 ปี รวมมูลค่าหลายแสนล้านบาท ในพื้นที่เมืองโก๊ก ฝั่งพม่า (รัฐฉานภาคตะวันออก) เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ที่จังหวัดสระบุรี

ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทสระบุรีถ่านหินได้ยื่นเรื่องขออนุญาตเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวขึ้นที่ชายแดนไทย-พม่า ระหว่างบ้านม้งเก้าหลัง หมู่ 9 ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียง และเตรียมก่อสร้างเส้นทางสายใหม่สำหรับใช้ในการลำเลียงด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวได้เงียบหายไป หลังหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณแนวโครงการสร้างถนนแสดงการคัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในข่ายเป็นสีแดง ซึ่งมีการเคลื่อนไหวกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่ม รวมถึงขบวนการค้ายาเสพติด และเกรงจะเกิดผลกระทบต่อชุมชนและป่าสงวน ที่สำคัญมลพิษถ่านหินอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของบ้าน

มีรายอีกว่า เมื่อไม่นานนี้ มีนักธุรกิจจากจีนเข้าไปสำรวจเหมืองถ่านหินบริเวนพื้นที่บ้านเมืองจ๊อต ตรงข้ามอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อที่จะขุดลำเลียงเข้าไปในจีนด้วยเช่นกัน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) เป็นสำนักข่าวอิสระจัดตั้งโดยกลุ่มชนไทยใหญ่พลัดถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาพม่าง่ายนิดเดียว

มินกะลาบา ตะแหง่จิ้น



สวัสดี เพื่อนๆ

ตะแหง่จิ้น แปลว่า เพื่อน



เตวะ ย้า ดา วั้น ตา บา แด

แปลว่า ดีใจที่ได้เจอ

เตวะ แปลว่า พบ เจอ

ย่าด่า แปลว่า ได้

วั้นตา แปลว่า ดีใจ

ส่วนคำว่า บ่าแด เป็นคำลงท้ายประโยคบอกเล่าครับ


เมื่อเรารู้ว่า เตวะ แปลว่าพบหรือเจอ

มะเตวะ แปลว่าไม่พบ หรือไม่เจอ มะ แปลว่า ไม่

ตัวอย่างต่อไปนี้

มะ เตวะ ดา จ่า บี เน ก๊าว ลา

มะเตวะ ไม่พบ

ด่าจ่าบี นานมากๆ

เนก๊าวลา สบายดีไหม(อยู่ในบทที่สองครับ)

เน่า เนะ เตวะ แม นอ

เน่า แปลว่า ถัดไป
เนะ แปลว่า วัน
เตวะ แปลว่า พบ
แม แปลว่า จะ ใช้กับสิ่งที่เราจะทำในอนาคต
นอ เป็นคำลงท้ายอีกคำหนึ่งในประโยคบอกเล่าครับ คล้ายๆหนอ ของภาษาไทย เสียงก็คล้าย ความหมายยิ่งคล้ายเลย





จบบทที่สามครับ

สักพักจะเอาตัวเขียนพม่าและวิธีเขียนมาให้ดูนะคับ สักพักสักครู่


เจซูแบ ขอบใจๆ(ภาษาพูด) เจอกันใหม่ตอนหน้าครับ

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

“I Versus Me”

The Friendship Between Buddhism and Spiritualism

In Linguistics, I and Me both mean the first person of the conversation, used differently as the subject and the object in the sentence. In sociology “I” means one’s true identity without any pressure or even social influences. Inverse, “Me” is interpreted as an identity once one has been socialised.

Many Thais might have heard the myth of “Pu Sae-Ya Sae”. Two spirits of Lanna (the land currently covers most of the Northern Region of Thailand) who were protecting the Lanna people from mystic dangers during the time of the spirit or the unknown era. It had been Lanna people’s deeply rooted belief before it was challenged by the new science of knowing and understanding Samsara. It was Buddhism who came from such a faraway land as South Asia.

I, in “Pu Sae-Ya Sae” lies in the mystery and upcoming disasters as soon as one has lost faith or offends the spirits. The spirits’ wrath would be expressed in such a big frame as everything under the sun. While “I” in Buddhism holds a belief on a logical ground, meaning applicability and a certain formula; no matter how many times a deed is done, the result is the same, “You get what you give”.

It could be easily predicted that the war between the existing and the extremely different new comer, was unavoidable. Nevertheless, the residual after the clash was over the conjecture. And there sprung in Lanna, the Spiritual Buddhism or Buddhist Spiritualism, a new Buddhist patch which beautifully blended with the native’s way of life.

So true that the reproduction of Spiritualism would arise for its own survival, such as the new myth about “Pu Sae-Ya Sae” meeting the Buddha when he came to propagate Buddhism in the region. In this myth, the Buddha asked these two spirits to stop abusing their mystic power and stop killing people.

Sociologically, both Buddhism and Spiritualism have since kept their own “I” inside and chosen to share only “Me”. Spiritualism accepted Buddhism’s influence in regulating the value of Karma and positive deed while Buddhism acceded to Spiritualism in holding their holy position as far as they could remain harmonious. In short, they both have kept “I” respectful to “Me”.

ความเป็นเพื่อนของพุทธกับผี และ I and Me ที่มาคั่นกลาง

ในทางภาษาศาสตร์ความเหมือนของความหมายระหว่าง I กับ Me คือ ฉัน แต่ ฉัน ในทั้งสองคำก็มีความต่าง คืออันแรกเป็นประธาน และอันหลังเป็นกรรม โดยเฉพาะในทางสังคมวิทยา I หมายถึงตัวตนอันแท้จริงของเรา ปราศจากภาวะกดดันใดๆ และแทบจะไร้ซึ่งอิทธิพลทางสังคม ต่างกันกับ Me ที่ตีความหมายได้ถึงตัวตนอันผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (socialisation)

หลายคนคงเคยได้ยินตำนาน ปู่แสะกับย่าแสะ จากลัทธิถือผีของล้านนาที่คอยปกปักรักษาชีวิตความเป็นอยู่ของลูกหลานล้านนาให้อยู่รอดปลอดภัย แคล้วคลาดจากภัยลึกลับต่างๆในยุคอวิชชา ตำนานความเชื่อซึ่งฝังรากลึก ก่อนที่ชาวล้านนาจะถูกท้าทายความเชื่อเดิมๆ ด้วยวิชาใหม่แห่งการรู้และเข้าใจสังสารชีวิตอย่างพุทธศาสนาผู้มาไกลจากชมพูทวีป

ความเชื่อผีอย่างปู่แสะกับย่าแสะมี I อยู่ที่ความลี้ลับและภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น หากศรัทธาเสื่อมหรือต้องด้วยการลบหลู่ซึ่งความโกรธแค้นของผีเป็นกรอบที่กว้างๆที่แทบจะไร้ขอบเขตจนแทบจะเรียกได้ว่า everything under the sun ขณะเดียวกันพุทธศาสนากลับมี I ที่แตกต่างเพราะยึดถือหลักความเชื่อบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายความว่า มีความสามารถที่จะปฏิบัติได้ และมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว จะซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกกี่ครั้งผลของมันก็คงเดิม ทำดีได้ดี

ไม่ว่าใครก็คงจะเดาออกอย่างไม่ยาก ว่าสงครามหักล้างระหว่างสิ่งเก่ากับผู้มาใหม่ที่ต่างกันอย่างสุดขั้วเป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้ แต่ถึงกระนั้นสิ่งที่คงเหลืออยู่หลังการปะทะสังสรรค์ของความต่างกลับอยู่เหนือการคาดเดา เพราะปรากฏว่าในแผ่นดินล้านนาเกิด พุทธแบบผี หรือ ผีแบบพุทธ เป็นพุทธวิถีใหม่ที่กลมกลืนกับชีวิตดั้งเดิมของชาวท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

จริงอยู่ว่าอาจเกิดกระบวนการผลิตซ้ำของลัทธิผีขึ้นมาเพื่อความอยู่รอด ดังเช่นการเชื่อมโยงให้ปู่แสะกับย่าแสะได้พบเจอพระพุทธเจ้าที่มาเผยแผ่ศาสนา ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะขอให้ผีทั้งสองตนเลิกใช้อำนาจลึกลับของตน ทั้งเลิกเข่นฆ่าผู้คน แต่เมื่อมองในแง่มุมทางสังคมวิทยาแล้ว ทั้งพุทธและผีต่างก็เก็บ I ของตนไว้ภายใน และเลือกที่จะแสดงออกมาแต่ Me เพราะผียอมรับให้พุทธเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดคุณค่าเรื่องกรรมและการทำดี ในขณะที่พุทธก็ยอมให้ผีคงสถานะแห่งความศักดิ์สิทธิไว้ เท่าที่ทั้งผีและพุทธจะไม่แตกร้าวกัน หรืออีกนัยหนึ่ง คือรักษา I ไม่ให้ข้ามหน้าข้ามตา Me นั่นเอง

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

เชียงใหม่, เหนือ
กลุ่มคนเล็ก ๆ เพื่อขจัดอคติต่อชาวพม่า