ไทย - พม่า เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่าง ชาวไทย กับ ชาวพม่า

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

Aung San Suu Kyi

Biography*
1942: September 6. Marriage of Aung San, commander of the Burma Independence Army, and Ma Khin Kyi (becoming Daw Khin Kyi), senior nurse of Rangoon General Hospital, where he had recovered from the rigours of the march into Burma.
1945: June 19. Aung San Suu Kyi born in Rangoon, third child in family. "Aung San" for father, "Kyi" for mother, "Suu" for grandmother, also day of week of birth.
Favourite brother is to drown tragically at an early age. The older brother, will settle in San Diego, California, becoming United States citizen.
1947: July 19. General Aung San assassinated. Suu Kyi is two years old. Daw Khin Kyi becomes a prominent public figure, heading social planning and social policy bodies.
1948: January 4. The Independent Union of Burma is established.
1960: Daw Khin Kyi appointed Burma's ambassador to India. Suu Kyi accompanies mother to New Delhi.
1960-64: Suu Kyi at high school and Lady Shri Ram College in New Delhi.
1964-67: Oxford University, B.A. in philosophy, politics and economics at St. Hugh's College (elected Honorary Fellow, 1990).
British "parents" are Lord Gore-Booth, former British ambassador to Burma and High Commissioner in India, and his wife, at whose home Suu Kyi meets Michael Aris, student of Tibetan civilisation.
1969-71: She goes to New York for graduate study, staying with family friend Ma Than E, staff member at the United Nations, where U. Thant of Burma is Secretary-General. Postponing studies, Suu Kyi joins U.N. secretariat as Assistant Secretary, Advisory Committee on Administrative and Budgetary Questions. Evenings and weekends volunteers at hospital, helping indigent patients in programs of reading and companionship.
1972: January 1. Marries Michael Aris, joins him in Himalayan kingdom of Bhutan, where he tutors royal family and heads Translation Department. She becomes Research Officer in the Royal Ministry of Foreign Affairs.
1973: They return to England for birth of Alexander in London.
1974: Michael assumes appointment in Tibetan and Himalayan studies at Oxford University.
1977: Birth of second son, Kim at Oxford.
While raising her children, Suu Kyi begins writing, researches for biography of father, and assists Michael in Himalayan studies.
1984: Publishes Aung San in Leaders of Asia series of University of Queensland Press. (See Freedom from Fear, pp. 3-38.)
1985: For juvenile readers publishes Let's Visit Burma (see Freedom from Fear, pp. 39-81), also books on Nepal and Bhutan in same series for Burke Publishing Company, London.
1985-86: Visiting Scholar, Center of Southeast Asian Studies, Kyoto University, researching father's time in Japan. Kim with her, Alexander with Michael, who has fellowship at Indian Institute of Advanced Studies at Simla in northern India.
1986: On annual visit to grandmother in Rangoon, Alexander and Kim take part in traditional Buddhist ceremony of initiation into monkhood.
1987: With fellowship at Indian Institute Suu Kyi, with Kim, joins Michael and Alexander in Simla. Travels to London when mother is there for cataract surgery.
Publishes "Socio-Political Currents in Burmese Literature, 1910-1940" in journal of Tokyo University. (See Freedom from Fear, pp. 140-164.) September. Family returns to Oxford. Suu Kyi enrolls at London School of Oriental and African Studies to work on advanced degree.
1988: March 31. Informed by telephone of mother's severe stroke, she takes plane next day to Rangoon to help care for Daw Khin Kyi at hospital, then moves her to family home on University Avenue next to Inya Lake in Rangoon.
July 23. Resignation of General Ne Win, since 1962 military dictator of Burma. Popular demonstrations of protest continuing.
August 8. Mass uprising throughout country. Violent suppression by military kills thousands.
August 15. Suu Kyi, in first political action, sends open letter to government, asking for formation of independent consultative committee to prepare multi-party elections.
August 26. In first public speech, she addresses several hundred thousand people outside Shwedagon Pagoda, calling for democratic government. Michael and her two sons are there.
September 18. Military establishes State Law and Order Restoration Council (SLORC). Political gatherings of more than four persons banned. Arrests and sentencing without trial reaffirmed. Parliamentary elections to be held, but in expectation that multiplicity of parties will prevent clear result.
September 24. National League for Democracy (NLD) formed, with Suu Kyi general-secretary. Policy of non-violence and civil disobedience. October-December. Defying ban, Suu Kyi makes speech-making tour throughout country to large audiences.
December 27. Daw Khin Kyi dies at age of seventy-six.
1989: January 2. Funeral of Daw Khin Kyi. Huge funeral procession. Suu Kyi vows that as her father and mother had served the people of Burma, so too would she, even unto death.
January-July. Suu Kyi continues campaign despite harassment, arrests and killings by soldiers.
February 17. Suu Kyi prohibited from standing for election.
April 5. Incident in Irawaddy Delta when Suu Kyi courageously walks toward rifles soldiers are aiming at her.
July 20. Suu Kyi placed under house arrest, without charge or trial. Sons already with her. Michael flies to Rangoon, finds her on third day of hunger strike, asking to be sent to prison to join students arrested at her home. Ends strike when good treatment of students is promised.
1990: May 27. Despite detention of Suu Kyi, NLD wins election with 82% of parliamentary seats. SLORC refuses to recognise results.
October 12. Suu Kyi granted 1990 Rafto Human Rights Prize.
1991: July 10. European Parliament awards Suu Kyi Sakharov human rights prize.
October 14. Norwegian Nobel Committee announces Suu Kyi is winner of 1991 Peace Prize.
1991: December. Freedom from Fear published by Penguin in New York, England, Canada, Australia, New Zealand. Also in Norwegian, French, Spanish translations.
December 10. Alexander and Kim accept prize for mother in Oslo ceremony. Suu Kyi remains in detention, having rejected offer to free her if she will leave Burma and withdraw from politics. Worldwide appeal growing for her release.
1992: Suu Kyi announces that she will use $1.3 million prize money to establish health and education trust for Burmese people.
1993: Group of Nobel Peace Laureates, denied entry to Burma, visit Burmese refugees on Thailand border, call for Suu Kyi's release, Their appeal later repeated at UN Commission for Human Rights in Geneva.
1994: February. First non-family visitors to Suu Kyi: UN representative, U.S. congressman, New York Times reporter.
September-October. SLORC leaders meet with Suu Kyi, who still asks for a public dialogue.
1995: July 10. SLORC releases Suu Kyi from house arrest after six years of detention.

In the last four years her movements have still been restricted. While she has had some opportunities to telephone her family in England, she is regularly denounced in the government-controlled media, and there is concern for her personal safety. Efforts to revive any NLD party activities have been balked, and its members have been jailed and physically attacked. In the first months after detention was ended, she was able to speak to large gatherings of supporters outside her home, but this was stopped. Yet her popularity in the country has not diminished.

Internationally her voice has been heard not infrequently. Reporters with cameras and videotape have been able to interview her in person, and telephone interviews with the media outside Burma have also been published. Using video cassettes she has sent out statements, including the keynote address to the NGO Forum at the U.N. International Women's Conference in Beijing in August 1995.

There have been a number of visitors from abroad, including a member of the Norwegian Nobel Committee, whom she told that Norway will be the first country she will visit when free to travel. SLORC has changed its name to the State Peace and Development Council, but its repressive policies and violation of human rights continue unabated.

Suu Kyi discourages tourists from visiting Burma and businessmen from investing in the country until it is free. She finds hearing for such pleas among western nations, and the United States has applied economic sanctions against Burma, but Burma's neighbours follow their policy of not intervening in the internal affairs of other sovereign states, and Burma has been admitted into the Association of South Eastern Asian Nations.

On March 27, 1999, Michael Aris died of prostate cancer in London. He had petitioned the Burmese authorities to allow him to visit Suu Kyi one last time, but they had rejected his request. He had not seen her since a Christmas visit in 1995. The government always urged her to join her family abroad, but she knew that she would not be allowed to return. This separation she regarded as one of the sacrifices she had had to make in order to work for a free Burma.



Selected Bibliography
By Aung San Suu Kyi
Freedom from Fear and Other Writings. Edited with introduction by Michael Aris. 2nd ed., revised. New York and London: Penguin, 1995. (Includes essays by friends and scholars.)
Voice of Hope: Conversations. London: Penguin, 1997 and New York City: Seven Stories Press, 1997 (Conversations beginning in November 1995 with Alan Clements, the founder of the Burma Project in California who helped with the script for the film based on her life, “Beyond Rangoon”.)

Other Sources
“Aung San Suu Kyi”, in Current Biography, February 1992.
Clements, Alan and Leslie Kean. Burma’s Revolution of the Spirit: The Struggle for Democratic Freedom and Dignity. New York: Aperture, 1994. (Many colour photographs with text, Includes essay by Aung San Suu Kyi.)
Clements, Alan. Burma: The Next Killing Fields. Tucson, Arizona; Odonian Press, 1992. (With a foreword by the Dalai Lama.)
Lintner, Bertil. Burma in Revolt: Opium and Insurgency since 1948. Boulder. Colorado: Westview, 1994. (By a well-informed Swedish journalist.)
Lintner, Bertil. Outrage: Burma’s Struggle for Democracy. 2nd ed., Edinburgh: Kiscadale, 1995.
Mirante, Edith T. Burmese Looking Glass. A Human Rights Adventure and a Jungle Revolution. New York: Grove, 1993.
Smith, Martin J. Burma: Intrangency and the Politics of Ethnicity. London: Zed Books, 1991. (A detailed and well-organised account by a journalist of the violent conflict between the military government and the many minorities.)
Victor, Barbara. The Lady: Aung San Suu Kyi: Nobel Laureate and Burma’s Prisoner. Boston and London: Faber & Faber, 1998. (A sympathetic account by a wellpublished author and journalist, whose research in Burma included interviews with government leaders.)


--------------------------------------------------------------------------------

* Since no biography was printed in Les Prix Nobel 1991, this chronology has been assembled by the editor.

From Nobel Lectures, Peace 1991-1995, Editor Irwin Abrams, World Scientific Publishing Co., Singapore, 1999

This autobiography/biography was written at the time of the award and first published in the book series Les Prix Nobel. It was later edited and republished in Nobel Lectures. To cite this document, always state the source as shown above.


Copyright © The Nobel Foundation 1991


from http://nobelprize.org/nobel_prizes/peace/laureates/1991/kyi-bio.html

ม็อบหนุน"ซู จี"ป่วนสถานทูตพม่าในอินเดีย ค้านกฎห้ามผู้นำฝ่ายค้านลงเลือกตั้ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มีนาคม 2553 16:20 น.


เกิดเหตุจลาจลขึ้นที่หน้าสถานทูตพม่า ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อชาวพม่าพลัดถิ่นประมาณ 50 คน ขว้างปาก้อนหินและไม้ เข้าไปในอาคารสถานทูต บางคนพ่นสีบนรูปภาพของ พล.อ.อาวุโสตัน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดรัฐบาลทหารพม่า และบนกำแพงสถานทูต
โดยการชุมนุมครั้งนี้ จัดขึ้นโดยกลุ่มเคลื่อนไหวชาวพม่าที่สนับสนุนประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายการเลือกตั้งทั่วไป ที่กำลังจะมีขึ้น เพราะกีดกันนางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้าน ไม่ให้ร่วมการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพบเห็นจึงเข้าจับกุม จนเกิดเหตุจลาจลขึ้น ก่อนผู้ชุมนุมจะถูกจับขึ้นรถบัสเพื่อควบคุมสถานการณ์

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปข่าวพม่า

สรุปข่าวพม่ารอบสัปดาห์ (3 - 13 มีนาคม 2553)
Mon, 2010-03-15 19:05

3 มีนาคม 2553
รบ.บังกลาเทศละเมิดสิทธิชาวโรฮิงยา
กลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนของสหรัฐโจมตีรัฐบาลบังกลาเทศว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวมุสลิมโรฮิงยา โดยการกีดกันหน่วยงานเอ็นจีโอต่างๆที่เข้าไปช่วยเหลือด้านอาหารแก่ชาวโรฮิงยาที่อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ ที่ผ่านมารัฐบาลบังกลาเทศและชาวบ้านในพื้นที่บางส่วนบุกจับกุมและนำตัวไปกักขัง รวมถึงทำร้ายร่างกายชาวมุสลิมโรฮิงยา จนเป็นเหตุให้ชาวโรฮิงที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนไม่กล้าออกไปหางานทำนอกค่ายผู้ลี้ภัย ส่งผลให้ขาดแคลนอาหารอย่างหนัก

ทั้งนี้นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา มีเด็กเสียชีวิตไปแล้ว 50 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ รัฐบาลบังกลาเทศยังสั่งห้ามชาวโรฮิงยาไม่ให้เดินทางออกนอกค่ายผู้ลี้ภัย แม้กระทั่งเดินทางไปซื้อของในตลาด

ผู้ลี้ภัยคนหนึ่งกล่าวว่า “หากพวกเราไม่มีสิทธิ์ที่จะรับความช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงานเอ็นจีโอ และไม่มีสิทธิที่จะทำงานได้ พวกเราก็คงไม่สามารถมีชีวิตรอดได้”(Narinjara/VOA)

4 มีนาคม 2553
แรงงานข้ามชาติพิสูจน์สัญชาติแล้วกว่า 850,000 คน
กระทรวงแรงงานของไทยระบุ มีแรงงานข้ามชาติมาขอยื่นพิสูจน์สัญชาติแล้วกว่า 850,000 ราย ขณะที่แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายกว่า 1.2 ล้านคนในประเทศไทย ที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้จะถูกผลักดันออกจากประเทศต่อไป ขณะที่กลุ่มฮิวแมนไรท์วอชระบุ แรงงานที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเหล่านี้เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างมากขึ้น (เอเอฟพี)


9 มีนาคม 2553
Burma VJ พลาดรางวัลออสการ์
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Burma VJ “เบอร์ม่าวีเจ” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวอาชีพนักข่าวในพม่าและการประท้วงใหญ่ของพระสงฆ์ในพม่าเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา พลาดรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์สารคดีในปีนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งรางวัลดังกล่าวตกเป็นของภาพยนตร์เรื่อง “The Cove”

จ่อซัว นักแสดงนำ Burma VJ กล่าวว่า เขารู้สึกผิดหวัง แต่เขาคิดว่าต้องทำงานให้มากกว่านี้เพื่อให้คนทั่วโลกได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในพม่า ขณะที่จ่อทู นักแสดงชาวพม่ากล่าวว่า แม้ Burma VJ จะพลาดรางวัลออสการ์ แต่ทีมงานทีมี่ส่วนร่วมก็ควรจะภูมิใจที่สามารถผ่านเข้าชิงรอบสุดท้ายได้ อย่างไรก็ตาม Burma VJ สามารถกวาดรางวัลจากเทศกาลหนังทั่วโลกได้แล้วกว่า 40 รางวัล ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์สารคดีอีกเรื่องหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในรอบปีที่ผ่านมา (Irrawaddy)


10 มีนาคม 2553
ทางการพม่าไฟเขียว NLD เปิดทำการอีกครั้ง
รัฐบาลพม่าอนุญาตให้สำนักงานพรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจีในกรุงย่างกุ้งและทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 300 แห่งเปิดทำการอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการอนุญาตครั้งแรกในรอบ 7 ปี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพม่าได้ตัดสิทธิ์นางซูจีไม่ให้สามารถเข้าร่วมชิงชัยเลือกตั้งที่จะถึงนี้ พร้อมกดดันพรรคเอ็นแอลดีขับนางซูจีออกจากพรรคหากต้องการลงชิงชัยเลือกตั้ง

เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลพม่าประกาศใช้กฎหมายเลือกตั้ง รวมถึงการออกมาประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามกฎหมายเลือกตั้งดังกล่าวระบุว่า ผู้ที่เคยต้องโทษจะไม่มีสิทธิ์สมัครลงเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งการระบุดังกล่าวทำให้นักการเมืองหลายคนที่เคยต้องโทษหมดสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งนี้ หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า การเลือกตั้งในพม่าจะไม่น่าเชื่อถือหากนักโทษทางการเมืองและสมาชิกพรรคฝ่ายค้านยังถูกกีดกัน และถูกกุมขัง (เอพี)


12 มีนาคม 2553
ยาเสพติดจากรัฐฉานทะลักเข้าจีน
จำนวนผู้ติดยาเสพติดในจีนยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะมณฑลยูนนาน ซึ่งมีชายแดนติดกับพม่า จากรายงานของทางการจีนพบว่า เมื่อปีที่แล้วมีผู้ติดเฮโรอีนในพื้นที่ดังกล่าวเข้ารับการบำบัดกว่า 6 พันคน ซึ่งเป็นผลมาจากการทะลักของยาเสพติดจากฝั่งพม่าอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้ป่วยเอชไอวีในกลุ่มของผู้ใช้ยาเสพติดในเขตมณฑลยูนนานเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในขณะที่พม่ายังเป็นผู้ผลิตฝิ่นมากที่สุดของโลกรองลงจากอัฟกานิสถาน (รอยเตอร์)


13 มีนาคม 53
คาดโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของพม่าใกล้แล้วเสร็จ
แหล่งข่าวจากวิทยาลัยป้องกันประเทศ (Defense Services Academy - DSA) ในเมืองเหม่เมี้ยว มัณฑะเลย์ เปิดเผยว่า แผนการดำเนินการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 แห่งในเมือง Thabeikkyin ทางภาคเหนือของภาคมัณฑะเลย์ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 ใกล้จะแล้วเสร็จในอีกไม่ช้า ขณะที่รัฐบาลอ้างแผนพัฒนานิวเคลียร์ดังกล่าวมีขึ้นเพื่อต้องการใช้ในการวิจัยเท่านั้น

ชาวบ้านในพื้นที่ระบุ ตั้งแต่มีการดำเนินการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในพื้นที่ พบเห็นชาวต่างชาติคล้ายคนจีนเข้าออกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ชาวบ้านยังถูกห้ามไม่ให้เข้าไปใกล้พื้นที่ดังกล่าว

แม้ยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัดว่า เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใกล้แล้วเสร็จหรือไม่ แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า แผนพัฒนาดังกล่าวน่าจะใกล้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานแล้ว เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานว่า นายพลอาวูโสหม่องเอ ผู้นำหมายเลข 2 ของรัฐบาลพม่าได้เดินทางมาเข้าเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และนักวิจัยในพื้นที่

อย่างไรก็ตามรัสเซียได้ทำข้อตกลงที่จะให้การช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีและการวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ให้กับพม่าเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลพม่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนกว่า 6 หมื่นนายเข้ารับการอบรมด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนานิวเคลียร์ในประเทศรัสเซียอีกด้วย (Irrawaddy)

รัฐบาลพม่าแบนข่าวการเลือกตั้ง
นักข่าวในพม่าเผยรัฐบาลพม่าสั่งห้ามสื่อในประเทศเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กฎหมายเลือกตั้ง รวมถึงสถานการณ์ของพรรคเอ็นแอลดีที่นางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคถูกห้ามลงสมัครเลือกตั้ง ด้านบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในย่างกุ้งกล่าวว่า เขาได้สัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักการเมืองจากหลายพรรคเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งที่เพิ่งประกาศไป แต่ถูกคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลพม่าสั่งห้ามตีพิมพ์บทความดังกล่าว

ในขณะที่สื่อของรัฐต่างเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนจากรัฐบาลและการเลือกตั้งในด้านบวก นักข่าวในย่างกุ้งคนหนึ่งกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วมีทั้งพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน การห้ามเผยแพร่ข่าวของพรรคฝ่ายค้าน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม

ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้ตั้งคณะกรรมการเซ็นเซอร์ชุดพิเศษขึ้นมาเพื่อควบคุมการรายงานของสื่อในช่วงที่มีการเลือกตั้งโดยเฉพาะ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะส่งต้นฉบับของสื่อให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนมีการเผยแพร่ ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์เอกชนถูกสั่งห้ามตีพิมพ์ไปหลายฉบับหลังคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลตรวจสอบพบว่า มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในประเด็นที่อ่อนไหว
(Irrawaddy)

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

ภาษาพม่าง่ายนิดเดียว บทที่1

ภาษาพม่าง่ายนิดเดียว บทที่1

เมื่อวาน ไปดูหนังเรื่อง พระนเรศวร ประทับใจในฉากที่สุดอลังการมาก ๆ ครับ แต่จริงๆแล้วนักประวัติศาสตร์พม่า รวมถึงท่านอาจารย์ชาวพม่าที่สอนภาษาให้ผม ท่านไม่ปลื้มประวัติศาสตร์ไทยเท่าไหรนัก ก็คงเหมือน ๆ กับที่เราไม่ปลื้มประวัติศาสตร์พม่า และก็คงที่ชาวเกาหลีไม่ปลื้มประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นอีก

ชื่อในภาษาพม่านั้น ปกติเราจะได้ยินชื่อ หม่อง เยอะสุด เหมือน ๆกับที่ชาวเวียตนามมี ชื่อเหงียนแทรกอยู่ แต่จริงๆแล้ว หม่อง มิได้อ่านว่า หม่อง หากแต่ อ่านว่า หม่าว (แต่จะแทรกเสียงกะสด ง มาหน่อยนึง แต่ส่วนมากชาวพม่าไม่ออกเสียง ง เลย)

อ่องก็เช่นกัน ออกเสียงว่า อ่าว

อองซานซุจี ก็เป็น อ่าวซั่นซุจี่
พระเจ้า บุเรงนอง เป็นชื่อที่เราได้ยินบ่อยๆ แต่ชาวพม่าจะออกเสียงว่า บะยินน่าว

อย่างประเทศไทยเราเนี่ย ชาวพม่าไม่ได้เรียกว่า สยาม หรือเสียม หรือไทย แต่เขานิยมเรียกเราว่า โยเดีย หรือ โยดะยา ซึ่งเขาบอกว่า แปลว่า คนที่แพ้ ส่วน อโยเดีย หรือ อโยดยา นั้น แปลว่า คนไม่แพ้
ประมาณว่า คำเรียกชื่อประเทศเรา มีนัยะในเชิงข่มหน่อยๆ
(อันนี้ผมถามจากเพื่อนคนหนึ่งนะครับ อาจมีความเห็นอื่นๆ)

มาดูภาษาพม่าทั่วไปบ้างนะครับ
มินกะลาบา แปลว่า สวัสดี มาจากคำว่า มังคละ ภาษาไทยก็ยืมเช่นกัน มงคล ไง
ตั๊กกะโต่ แปลว่า มหาวิทยายาลัย มาจากคำว่า ตักศิลา ซึ่งคนไทยก็เข้าใจความหมายนี้ดีครับ
ปะทะมะ ก็ ปฐม หรือประถม
ดุดิยะ ก็ ทุติยะ
ตะติยะ ก็ตติยะ

เน่ กาว ลา แปลว่า สบายดีไหม?

เน = สุขภาพ
กาว = ดี
ลา = ไหม
คำว่า ลา จะลงท้ายประโยคคำถามทุกคำถาม ถ้าใครเรียนญี่ปุ่น ก็จะคล้ายๆคำว่า ก๊ะ ของญี่ปุ่นด้วยนะครับ
และถ้าพิเคราะห์ดูดีๆ ภาษาพม่าจะมีโครงสร้างคล้ายๆญี่ปุ่น อีกทั้ง ตัวเขียนหลายตัวคล้ายคลึงกันมากๆ
แต่ที่คล้ายที่สุดก็โครงสร้าง เพราะอะไร จะมาอธิบายด้วยหลักทางประวัติศาสตร์ทีหลังครับ มีอาจารย์ท่านหนึ่งอธิบายไว้ น่าสนใจมาก ๆ

มินกะลาบา สวัสดี
เน่ กาว ลา สบายดีไหม
ทะมินซา ปี๊ปี่ ลา ทานข้าวหรือยัง
ซาติ่น ปี๊ปี่ ลา เรียนเสร็จหรือยัง

ทะมิน แปลว่า ข้าว
ปี๊ปี่ แปลว่า เสร็จ
ลา ลงท้ายประโยคคำถาม
ซาติ่น แปลว่า เรียนหนังสือ

ตัวเลขพม่า

1 อ่านว่า ติ๊ด
2 อ่านว่า นิ๊ด
3 อ่านว่า โตง
4 อ่านว่า เล
5.อ่านว่า งา
6 อ่านว่า เช่า
7 อ่านว่า คุน หรือ คุนนิด
8 อ่านว่า ชิด
9 อ่าน โก
10 อ่านว่า แซ่

วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ

เจซูติ่นบาแด แปลว่า ขอบคุณ

เน๊า เนะ เตวะ แหม นอ แปลว่า เจอกันวันหลัง

ทูตUNยันเลือกตั้งพม่าเชื่อไม่ได้

ข่าวจากไทยโพสต์

ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าของยูเอ็นระบุ การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าในปีนี้ย่อมขาดความน่าเชื่อถือหลังรัฐบาลทหารไม่แสดงท่าทีจะปล่อยนักโทษการเมือง ฝ่ายทูตหม่องโต้พม่าไม่มีนักโทษการเมืองสักหน่อย ขณะรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์จวกรัฐบาลทหารห้าม "ซูจี" มีส่วนร่วมเลือกตั้ง ผิดคำสัญญาปฏิรูปประชาธิปไตย ลั่นนำเข้าที่ประชุมอาเซียนต้นเดือนหน้าไล่เบี้ยพม่าล้มเลิกกฎหมายเลือกตั้ง

โทมัส โอเจีย ควินตานา ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งมีหน้าที่จัดทำรายงานด้านสิทธิมนุษยชนภายในพม่าเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน เปิดแถลงที่นครเจนีวาภายหลังเสนอรายงานต่อคณะมนตรีเมื่อวันจันทร์ว่า การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าที่กำหนดจะมีขึ้นภายในปีนี้จะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของพม่า ทว่ารัฐบาลทหารพม่ากลับไม่ฉกฉวยโอกาสนี้แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและพัฒนาสู่ระบอบประชาธิปไตย

เขาชี้ว่าไม่มีสิ่งบ่งชี้ใดๆ เลยว่ารัฐบาลทหารมีแผนจะปล่อยนักโทษการเมืองก่อนถึงการเลือกตั้ง หลังจากที่กฎหมายเลือกตั้งเลือกตั้งฉบับใหม่ที่เพิ่งประกาศเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ก่อนบัญญัติห้ามนักโทษการเมืองที่มีมากกว่า 2,100 คน รวมถึงนางอองซาน ซูจี มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ หรือแม้แต่เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง "ภายใต้สภาพการณ์ปัจจุบัน การเลือกตั้งในพม่าไม่อาจมองได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ" เขากล่าว

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของซูจีชนะการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเมื่อปี 2533 แต่คณะทหารปฏิเสธจะยอมรับ เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วรัฐบาลเพิ่งจะประกาศให้ผลการเลือกตั้งปีนั้นเป็นโมฆะอย่างเป็นทางการ เอ็นแอลดีกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งภายนอกมองว่าเป็นปาหี่สร้างภาพประชาธิปไตยทั้งที่คณะทหารยังกุมอำนาจอยู่หรือไม่

ควินตานาเดินทางเยือนพม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า เขากล่าวว่านอกจากรัฐบาลทหารต้องรีบทำให้การเลือกตั้งปีนี้มีความยุติธรรมแล้ว รัฐบาลพม่ายังต้องตอบคำถามถึงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลายเป็นระบบตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาด้วย

ฝ่ายอู วุนนา หม่อง ลวิน ทูตพม่าประจำยูเอ็นโต้รายงานของควินตานาว่า เป็นความพยายามทางการเมืองเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้ง "รัฐบาลของผมกล่าวชัดเจนว่าเราไม่มีนักโทษการเมือง และพวกที่ถูกจำคุกก็คือผู้ที่ทำผิดกฎหมายและกฎระเบียบ" เขายืนกราน ทั้งยังประณามรายงานของควินตานาที่เสนอให้ยูเอ็นตั้งคณะทำงาน เพื่อไต่สวนการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติด้วยว่าเป็นการละเมิดสิทธิของรัฐอธิปไตย

อีกด้านหนึ่ง อัลเบอร์โต โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปิน

น์ แถลงกับผู้สื่อข่าวก่อนหน้าฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (นาม) วันที่ 16-18 มี.ค.นี้ ว่าเขากำลังรอคอยการพบหารือนอกรอบกับยาน วิน

รัฐมนตรีต่างประเทศของพม่า ที่มีกำหนดมาร่วมประชุมกับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 120 ชาติที่กรุงมะนิลา เพื่อถ่ายทอดความวิตกกังวล

โรมูโลเผยว่า ในการประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่กรุงฮานอยของเวียดนามวันที่ 8 เม.ย.นี้ เขาจะปลุกเร้าบรรดาเพื่อนรัฐมนตรีอาเซียน ร่วมกันกดดันพม่ายอมล้มเลิกกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งที่เพิ่งประกาศใช้ และขอให้พม่าปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาเก่าที่ว่าจะดำเนินการตาม "โรดแม็พสู่ประชาธิปไตย" โดยทันที

"มันตรงกันข้ามกับโรดแม็พสู่ประชาธิปไตยที่พวกเขาได้ให้ปฏิญาณไว้กับอาเซียนและกับโลก

มันเป็นคำมั่นสัญญาของพวกเขาเองแท้ๆ" รัฐมนตรีฟิลิปปินส์กล่าว

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

เชียงใหม่, เหนือ
กลุ่มคนเล็ก ๆ เพื่อขจัดอคติต่อชาวพม่า